Friday, November 18, 2016

ถอดความ Peter Zumthor: Different kinds of Silence (ตอนที่ 2)

Peter Zumthor: Different kinds of Silence ตอนที่ 2
credit video: https://youtu.be/lufVOqRWpLQ?list=PLKERropLWW3kZHImsCbgy8e2JqBBgTKYE

Peter Zumthor interview, Peter Zumthor: Different kinds of Silence (2015)


+++++++++

           ความเดิมจากตอนที่แล้ว บทสัมภาษณ์ของคุณ Peter Zhumthor เริ่มกล่าวถึง "ความเงียบสงบที่หลากหลาย (Different kinds of silence)" ซึ่งไม่ได้หมายถึงสภาวะไร้เสียง แต่เป็นสภาวะที่เราสามารถสื่อสารกับเสียงที่เราต้องการได้ยิน
วันนี้เราจะมาถอดความกับบทสัมภาษณ์เขาต่อครับ

           ปล. ผมมีจุดมุ่งหมายที่จะถอดความภาคภาษาให้ได้ใจความให้มากที่สุดครับ และอาจจะขอสอดแทรกการวิเคราะห์บางส่วนลงไปเป็นส่วนขยายความหมายบางอย่างที่ผมเข้าใจนะครับ หากมีข้อผิดพลาดหรือสิ่งใดแนะนำ ทุกท่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ เพื่อผมจะขอนำไปพัฒนาตัวเองต่อไปครับ

+++++++++

Feeling for the place 
"ความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันกับพื้นที่"

           Peter Zumthor กล่าวว่า เขารู้สึกคำว่า "ความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันกับพื้นที่" นั้นเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเขา เพราะทุกพื้นที่ที่เขาไป เขามักจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับพื้นที่นั้นอยู่แล้ว ผ่านการมอง การเข้าใจพื้นที่นั้น ก่อนที่จะลงมือทำอะไรสักอย่างลงไปในพื้นที่นั้นอีกที เหมือนตอนที่เขาไปเที่ยวที่สวนสนุกตกแต่งแนวคาทอลิก (ลัทธินับถือหนึ่งของศาสนาคริสต์) ในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งก็แปลกดีทั้งๆที่มาเที่ยวแต่ก็มาชวนให้เราทำอะไรโน่นนี่ ทำให้เขาได้สัมผัสสิ่งที่เกิดขึ้น มากกว่าภาพที่คิดไว้

           เขากล่าวว่า คือ เราทุกๆคน มีความเข้าใจพื้นที่ๆหนึ่งด้วยตัวเองอยู่แล้ว เพราะนั่นคือจุดที่เราเห็นว่าเราเข้าใจ อาจด้วยความที่เราก้าวสู่ยุคโลกาภิวัตน์แล้ว  (ขยายความ : เหมือนกับความเข้าใจไปด้วยตัวเอง ประมาณว่า เราเข้าใจโลกในภาพ ในสื่อที่เราได้รับมา ได้ยินมา ทั้งๆที่อาจจะยังไม่ได้สัมผัสมันด้วยตัวเอง แต่ตัวเราตัดสินไปแล้วว่าเราเข้าใจมัน) ไม่ว่าพื้นที่เหล่านั้นจะเป็นธรรมชาติ ในเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลาย ด้วยความรู้นี้เอง กลายเป็นจุดที่ทำให้เรายากที่จะเข้าใจคนมากกว่าเข้าใจพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอีก ประมาณว่า เราจะเข้าใจเหมือนที่เขาเข้าใจมั้ย? เช่นเวลาพูดถึงพื้นที่นี้ใน Australia เราจะเห็นภาพเดียวกันรึเปล่า? เป็นต้น
           มันเลยกลายเป็นจุดที่เขาต้องพยายามใช้เวลาในการเข้าใจคนมากขึ้น ซึ่งสำคัญมากกว่าการพยายามเข้าใจพื้นที่นั้นๆอีก

Bruder Klaus Field Chapel , Peter Zumthor: Different kinds of Silence (2015)

+++++++++

"The Nourishing ground"
สิ่งที่หล่อหลอมตัวตน 

           Peter Zumthor กล่าวกับเรื่องนี้ว่า วรรณกรรม กระบวนการการคิด ดนตรี คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการหล่อหลอมตัวตนของชีวิตเขา (คนชอบชมเขานะพี่สนใจทุกอย่างในชีวิตจริงๆ 55+) แต่ก็นั่นแหล่ะ อาจจะด้วยว่าเขาชอบคุยกับผู้คนมาก เขาชอบถามคนว่าเขาคนนั้นกำลังลงมือทำอะไรอยู่ ด้วยความว่าเขาสนใจหลายอย่าง เลยค่อยๆศึกษาเป็นปีๆไป ทีละเรื่อง ทั้งเศรษฐกิจ ดนตรี หรือศิลปะ อย่างดนตรีเขาจะมองจากจุดที่เขาชอบก่อน แล้วค่อยๆดูถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากยุคนึงสู่ยุคนึง เช่น ดนตรี classic นี้ส่งผลต่อโครงสร้างของดนตรี jazz ในยุค 50s ยังไง? เป็นต้น จนบางทีก็เลยเถิดไปถึงขั้นดูว่านักดนตรียุคร่วมสมัย (contemporary) เขาสร้างสรรค์งานกันยังไง? มีโครงสร้างในการทำงานอะไรเป็นสำคัญ บางทีเขาก็ไม่ได้ทำงานร่วมกันกับเสียงเท่านั้น แต่มีทั้งการใช้สี ใช้ผงแป้ง หรือไปอัดเสียงมาในโครงสร้างอาคาร 

           ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าเขาพยายามจะหาจุดอุปมา (analogies) ดนตรีให้กลายเป็นงานสถาปัตยกรรมตรงๆนะ แต่มันเหมือนกับวิธีการต่างๆเหล่านี้ มันเครื่องมือที่ช่วยให้เขาพยายามเข้าใจสถาปัตยกรรมอีกด้วย อย่างการชวนคนพูดคุยเรื่องปรัชญา เช่น ปรัชญาในเรื่อง "โรงแรม" เป็นต้น ซึ่งแน่นอนเขาจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากการพูดคุยด้วย "ประสบการณ์" แน่ๆ (ขยายความ : เหมือนที่เขาพยายามเข้าใจสิ่งที่คนคิดว่าเป็นเหมือนหรือต่างกับที่เขาคิดอย่างไร + ประสบการณ์จึงไม่ได้เป็นแค่สิ่งที่คนๆนั้นเจอมาเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่เขาเข้าใจกับสิ่งๆนั้นด้วย)

           คำถาม : ช่วยขยายความ สิ่งที่หล่อมหลอมตัวตนคุณ เพิ่มเติมได้มั้ย (ประมาณว่า แล้วมันเกี่ยวกับการทำอาคารยังไง)

           เขาตอบว่า เขาอยู่ในวิชาชีพที่ "สื่อสารผ่านอาคาร" (rendering service building) (ขยายความ : ในจุดนี้ คำแปลอาจจะไปคนละทิศทาง แต่ผู้เขียนมองว่า การใช้คำว่า rendering service building มีความหมายเชิงลึกที่หมายถึง กระบวนการสร้างสรรค์งาน โดยใช้อาคารเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร) เปรียบง่ายๆ เหมือน เขาเป็นศิลปิน แต่ไม่ใช่การทำงานด้านงานศิลป์ อย่าง "การวาดภาพ" แต่เป็น "ศิลปินในการสร้างอาคาร" มากกว่า 

           Peter Zumthor เพิ่มเติมแนวคิดสำคัญอีกว่า อย่างการที่มนุ็ย์เราเกิดความคิด เกิดความฝันก่อนลงมือทำอะไรสักอย่างเนี่ย เขามองว่า จุดนั้นเองคือการเกิด พื้นที่ (space) ขึ้นแล้ว ทั้งๆที่พวกเราก็ไม่เคยเห็น space นั้นมาก่อนเลย แต่เรารู้สึกถึง space นั้นได้แล้ว (ขยายความ : ผู้เขียนมองว่า Peter Zumthor กล่าว คือ space มันเกิดขึ้นตั้งแต่มันยังจับต้องไม่ได้ (ไม่มีตัวตนในโลกความจริง) แต่เกิดขึ้นตั้งแต่ในฝันหรือจากภาพจินตนาการในความคิดของเราแล้ว) นั่นคือจุดที่เขาพยายามใช้มันกระตุ้นสมอง-หัวใจในตัวเขา ให้พยายามเขาสัมผัสให้ได้ (ขยายความ : ผู้เขียนมองว่า กระตุ้นด้วยการพยายามทำในสิ่งที่เขาชอบ คือการพยายามเข้าใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เขาสนใจจริงๆ โดยเฉพาะการพยายามเข้าใจความคิด ตัวตนของผู้คน) เขาพิสูจน์ให้เห็นว่า ทั้งๆที่เขาก็เพิ่งเคยไปในพื้นที่ทำงานที่นั่นเป็นครั้งแรก แต่ด้วยวิธีการในการปฏิบัติตัวของเขา เขากลับรู้สึก "เข้าใจ" สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นจริงๆ มันทำให้เขารู้ว่าเขาจะออกแบบอะไร จะสร้างอะไรขึ้นมา เพื่อผู้คน เพื่อพื้นที่นั้นๆจริงๆ

จบตอนที่ 2
โปรดติดตามตอนต่อไป

+++++++++

สรุปความคิดตอนที่ 2

           เป็นอย่างไรบ้างครับ? สัปดาห์นี้เรื่องราวอาจจะยากขึ้นมาสักหน่อย เพราะ Peter Zumthor พูดถึงเรื่อง "ความคิด" กับ "ตัวตน" ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลค่อนข้างเยอะหน่อย แต่ก็ยังพอสรุปได้อยู่ว่า
           1. Peter Zumthor ให้ความสนใจกับผู้คน เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่คนเข้าใจ มากกว่าการตัดสินงานของเขา ผ่านมุมมองที่เขาเข้าใจเพียงคนเดียวเท่านั้น
           2. เขามองว่า space หรือ พื้นที่นั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ในความคิดของคน ดังนั้นการเข้าใจคน จึงนำไปสู่การเข้าใจ space ด้วย
           3. เขาไม่ได้มองว่า "ศิลปะ" คือวิชาหนึ่ง แต่ ศิลปะเกิดขึ้นในทุกที่ อย่างตัวเขา คือ ผู้ใช้ศิลปะในการทำอาคาร (อาจจะมีกล่าวถึงในตอนต่อไปเพิ่มเติม)

+++++++++

           เพื่อนๆ เมื่ออ่านแล้ว มีคำถามหรือข้อคิดเห็นอย่างไรบ้าง? พูดคุยแบ่งปันกันได้นะครับ

           ในตอนต่อไป ผู้เขียนจะสรุปประเด็นอื่นๆเพิ่มเติมที่อยู่ในการพูดคุยที่น่าสนใจของคุณ Peter Zumthor ต่อครับ แล้วพบกันเร็วๆนี้ครับ
+++++++++

Apinut Architect สถาปนิก นักวิจัยและที่ปรึกษากฎหมายควบคุมอาคาร
061-596-9925 FB page: facebook.com/ApinutArchitect/
#สถาปนิก #สถาปัตยกรรม #วิจัย #นักออกแบบ #รับออกแบบบ้าน #รับออกแบบอาคาร #ให้คำปรึกษา #ปรึกษาเรื่องบ้าน #พูดคุยแนวคิด

+++++++++

ทางผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ ไม่อนุญาตให้นำบทความไปใช้ในจุดประสงค์การค้ารูปแบบใดๆทั้งสิ้น และบทความนี้ เขียนขึ้นเพื่อ "ถอดความ" ภาษา ผนวกกับการใช้กระบวนการคิด เรียบเรียงด้วยความเข้าใจของตัวผู้เขียนเองเท่านั้น 
ดังนั้นการอ้างอิงถึงบทความนี้ เพื่อใช้ในงานเกี่ยวกับการศึกษา จึงไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง ผู้อ้างอิงควรพิจารณาก่อน 
ทางผู้เขียนบทความจึงขอสงวนสิทธิ์ ที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอ้างอิงลักษณะดังกล่าวนั้น
(11.2016)

+++++++++

Friday, November 11, 2016

ถอดความ Peter Zumthor: Different kinds of Silence (ตอนที่ 1)

Peter Zumthor: Different kinds of Silence ตอนที่ 1
credit video: https://youtu.be/lufVOqRWpLQ?list=PLKERropLWW3kZHImsCbgy8e2JqBBgTKYE



            วันนี้อยากนำเสนอแนวคิด ใจความสำคัญที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ฟังวีดีโอจาก Peter Zumthor สถาปนิกชาวสวิสเซอร์แลนด์ผู้มีชื่อเสียงระดับกับการออกแบบอาคารที่สถาปนิกหลายคนนั้นยอมใจให้กับความงามที่เกิดขึ้นจากความคิดของเขา

            ครั้งนี้ผู้เขียนมีความสนใจจะถอดแนวความคิดการสัมภาษณ์ ในหัวข้อ "ความเงียบสงบ" (Silence) ของ Peter Zumthor ซึ่งไม่ได้เล่าเพียงแค่หัวข้อพูดคุยแต่บรรจุเรื่องราวที่ค่อยๆประติดประต่อประสบการณ์ของเขาจนกลายเป็น "ทัศนคติ" (vision) ที่เขามีต่อสถาปัตยกรรม ซึ่งมีอยู่หลายประเด็นในการสัมภาษณ์นี้ ผู้เขียนจะขอเล่า (สรุป) ใจความที่ได้ฟังมาแบ่งปันกัน

"ความเงียบที่หลากหลาย" และ "การฟัง" 

            เรื่องราวเริ่มถูกท้าวความเมื่อครั้งที่คุณ Peter Zumthor ย้ายไปใช้ชีวิตที่นิวยอร์คในปี 68 ได้สัมผัสกับความแปลกใหม่ของสิ่งแวดล้อมและสภาพสังคมพร้อมกับภรรยาของเขา ผู้ยังไม่คุ้นเคยชีวิตในเมืองที่ช่างแตกต่างจากชนบทที่จากมา ทุกอย่างดูผิดจากสิ่งที่เขาคิดเอาไว้อย่างสิ้นเชิง จนกระทั่งครั้งนึงเขาได้มีโอกาสพานักศึกษาไปทำโปรเจคเพื่อศึกษาเรื่อง "เสียงในทิวทัศน์ (The Sound of Landscape)" [ขยายความ: เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ] บนที่ราบสูงแห่งหนึ่งในลอสแองเจิลลิส เมื่อเขาเห็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ เงาของภูเขาที่ทอดลงบนผืนหญ้าของเนิน ดอกไม้ที่เหี่ยวเฉาเริ่มเปลี่ยนฤดู จุดนี้เองที่เขารู้สึกว่าพื้นที่ลักษณะนี้ จิตวิญญาณของเขากลายเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้น
         
           และนั่นเองคือจุดเริ่มต้นของคำถามว่า "คุณคิดว่าคุณต้องการความเงียบสงบ (เสียงที่ได้ยิน) เพื่อทำให้คุณเกิดแนวคิดอะไรบางอย่างขึ้นมามั้ย (ในคำว่า "แนวคิด" ที่นี้ใช้คำว่า creative) ?"

           Peter Zumthor ตอบกลับว่า แม้สถานที่เขาจากมา (ในเมือง) มีความสะดวกสบาย เดินทางไปสนามบินได้ใน 15 นาทีเพื่อไปคุยงาน แต่ว่าพื้นที่ (ฟาร์ม) แห่งนี้ มีสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการทำงานของสตูดิโอของเขากับนักศึกษาในการเรียนรู้ตัวโปรเจค (sound of landscape) แต่ละคนได้มีโอกาสสร้างงานของตัวเองในพื้นที่นี้ ที่ที่ไม่ต้องแบ่งพื้นที่เป็นห้องๆเหมือนพื้นที่ในเมือง แต่ทุกคนได้มีโอกาสหาพื้นที่รอบๆนี้ สร้างงานและเรียนรู้สิ่งที่ตัวเองสนใจ

           [ขยายความ: Peter Zumthor มองนักศึกษาเป็นศิลปิน ที่กำลังจะลงมือสร้างสรรค์งานออกมา แทนที่จะอยู่แต่ในเมือง (Urban) สร้างงานในที่แคบ เปรียบเทียบกับศิลปินที่สร้างสรรค์งานในพื้นที่ทิวทัศน์แบบฟาร์มแห่งนี้ งานที่ออกมาจึงแตกต่างกัน]

           เขายังเสนอเพิ่มเติมว่า ใน "พื้นที่เมือง" นั้น อุดมไปด้วยเสียงจากสิ่งต่างๆมากมาย ทั้งเสียงของผู้คน การใช้ชีวิต เสียงลม จนมันดูเหมือน "มหาสมุทรเสียง (Ocean of sound)" ที่พัดมาหาเขา ซึ่งทำให้เขาต้องอาศัย "สมาธิ" เพื่อที่จะรับฟังเสียงเหล่านั้น ในการตั้งสมาธินี้เอง เขาก็ต้องอาศัย "ความเงียบที่หลากหลาย (Different kinds of Silence)" เพื่อที่จะทำให้เราได้ยิน (สื่อสาร) กับเสียงนั้นได้รู้เรื่อง ถ้าเราอยากจะได้ยินเสียงอะไรสักอย่าง คงต้องตั้งใจฟัง แทบจะต้องเดินไปเพื่อจะได้ยินเสียงนั้นชัดเจน (แม้ว่าจะวุ่นวายสักแค่ไหน) นั่นจึงเป็นเหตุให้เขาตัดสินใจพานักศึกษาออกมาพื้นที่แห่งนี้

           [ขยายความ: ผู้เขียนมองว่า Silence ในที่นี้ Peter Zumthor มีแนวคิดว่า เมื่อเราได้ยินเสียงใด นั่นถือว่าเกิดความเงียบขึ้นแล้ว ซึ่งความเงียบนั้นคือระดับที่ทำให้เราได้ "สื่อสาร" "ได้ยิน" เสียงๆนั้น ดังนั้นคำว่า "ความเงียบสงบ" (Silence) จึงไม่ได้หมายถึงสภาวะที่ไม่มีเสียงใดๆ]


จบ section 1 
โปรดติดตามตอนต่อไป

+++++++++

           จากมุมมองที่คุณ Peter Zumthor กล่าวนั้น ในมุมมองของผู้เขียน เหมือนการตอบคำถามทางอ้อมว่า
           การนิยามคำว่า "ความเงียบสงบ" (Silence) ในที่นี้ไม่ใช่สภาวะที่ "ไร้เสียงใดๆ"แต่หมายถึงสภาวะที่เรา "สื่อสาร" (ในที่นี้คือ "การได้ยิน") กับเสียงๆนั้นได้
           แม้ที่ๆหนึ่งเราจะสามารถศึกษาเรื่องเสียงๆหนึ่งในสภาวะแวดล้อมใดๆได้ก็ตาม แทนที่จะพยายามใช้สมาธิและการแยกแยะเสียงต่างๆแสนวุ่นวายเหล่านั้น ทำไมเราไม่พาตัวเองมาในที่ๆเราจะสามารถสื่อสาร หรือได้ยินเสียงๆหนึ่งจริงๆ แล้วใช้สมาธิกับการศึกษานั้นอย่างเต็มที่

+++++++++

           เพื่อนๆ เมื่ออ่านแล้ว มีคำถามหรือข้อคิดเห็นอย่างไรบ้าง? พูดคุยแบ่งปันกันได้นะครับ

           ในตอนต่อไป ผู้เขียนจะสรุปประเด็นอื่นๆเพิ่มเติมที่อยู่ในการพูดคุยที่น่าสนใจของคุณ Peter Zumthor ต่อครับ แล้วพบกันเร็วๆนี้ครับ

+++++++++

Apinut Architect สถาปนิก นักวิจัยและที่ปรึกษากฎหมายควบคุมอาคาร
061-596-9925 FB page: facebook.com/ApinutArchitect/
#สถาปนิก #สถาปัตยกรรม #วิจัย #นักออกแบบ #รับออกแบบบ้าน #รับออกแบบอาคาร #ให้คำปรึกษา #ปรึกษาเรื่องบ้าน #พูดคุยแนวคิด

+++++++++

ทางผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ ไม่อนุญาตให้นำบทความไปใช้ในจุดประสงค์การค้ารูปแบบใดๆทั้งสิ้น และบทความนี้ เขียนขึ้นเพื่อ "ถอดความ" ภาษา ผนวกกับการใช้กระบวนการคิด เรียบเรียงด้วยความเข้าใจของตัวผู้เขียนเองเท่านั้น 
ดังนั้นการอ้างอิงถึงบทความนี้ เพื่อใช้ในงานเกี่ยวกับการศึกษา จึงไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง ผู้อ้างอิงควรพิจารณาก่อน 
ทางผู้เขียนบทความจึงขอสงวนสิทธิ์ ที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอ้างอิงลักษณะดังกล่าวนั้น
(11.2016)

+++++++++